Audio-Technica
Audio-Technica
กลับมาคราวนี้ Nike เปิดตัวนวัตกรรมใหม่สำหรับผู้รักการออกกำลังกายอีกครั้งด้วย Nike+ SportBand ที่ไม่ต้องใช้งานร่วมกับ iPod nano แต่ยังคงความสามารถในการใช้วิ่งออกกำลังกายเช่นเดิม
ก่อนจะมาเป็น Nike+ SportBand
สำหรับหลายคนคงพอจะรุ้จัก Nike+iPod กันบ้างแล้ว (อ่านริวิว : Nike+iPod) ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2006 เข้ามาเมืองไทยเป็นทางการปี 2007 ซึ่งในขณะนั้นสามารถใช้งานได้เพียงกับผู้ที่มี iPod nano เท่านั้น ซึ่งต่อมาทางไนกี้ได้ผลิต Nike Amp+ เป็นอุปกรณ์เสริมอีกอย่างไว้ใส่ที่ข้อมือสำหรับเป็นรีโมทความคุม iPod nano , แสดงข้อมูลการว่ิง และเป็นนาฬิกาไปด้วยในตัว แต่ก็ยังต้องใช้งานร่วมกับ iPod nano อีกอยู่ดี จนมาถึงปี 2008 นี้ไนกี้เห็นแล้วว่าการจำกัดวง Nike+ อยู่แค่ผู้ใช้งาน iPod คงทำให้หลายคนที่อยากใช้งานเสียโอกาสไปเลยถือโอกาสเปิดตัว Nike+ SportBand ที่ไม่ต้องง้อ iPod nano อีกต่อไป แถมได้กลุ่มคนว่ิงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็เป็นที่มาของ Nike+ SportBand ในวันนี้นี่เอง
อุปกรณ์ในกล่อง
รูปร่างหน้าตา
ถอดแยกออกมาเดี่ยว ๆ แบบนี้เรียกว่า Link
ปุ่มกดมีด้านข้าง 1 ปุ่มและด้านบน 1 ปุ่ม
Nike+ SportBand หน้าตาเหมือนนาฬิกาข้อมือที่มีหน้าปัดบอกเวลาเป็นตัวเลขดิจิตอลทั่วไป โดยที่ตัวเครื่องหรือที่เรียกว่า Link มีหัว USB ไว้เสียบกับคอมพิวเตอร์สามารถถอดแยกออกมาจากสายรัดข้อมือได้ บนตัว Link มีปุ่มการกดใช้งาน 2 ปุ่มหลัก ๆ ที่ด้านบนเป็นปุ่มกลม ๆ ไว้สำหรับทำการซิงค์กับตัวเซนเซอร์และปุ่มด้านข้างของเครื่องสำหรับเรียกดูข้อมูลการว่ิงสลับกับการแสดงเวลา ส่วนสายรัดทำจากยางโพรียูรีเทนน้ำหนักเบาเส้นรอบวงของสายรัดกว้างสุดอยู่ที่ 9.5 น้ิว และเล็กสุด 6 น้ิว
โดยรวมแล้วสำหรับ Nike+ SportBand ออกแบบมาโฉบเฉี่ยวมากคือนอกจะใช้ให้ครบถ้วนทุกฟังก์ชั่นแล้วยังสามารถใส่เป็นแค่นาฬิกาเฉย ๆ ก็ได้ไม่ว่ากัน
การใช้งาน
การตั้งค่าต่าง ๆ ผ่าน Nike+ Utility
สำหรับ Nike+ SportBand คงนำไปเทียบกับ Nike+iPod ตรง ๆ ไม่ได้ทุกอย่างเพราะด้วยความที่มีหน้าจอแสดงผลที่จำกัดทำให้หลายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมาตั้งค่าต่าง ๆ ผ่านทางโปรแกรม Nike+ Utility บนคอมพิวเตอร์ (มีทั้งบน Mac และ Win) โดยในครั้งแรกก่อนที่เราต่อกับคอมพิวเตอร์ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม Nike+ Utility เสียก่อนจึงจะใช้งานได้ การตั้งค่าต่าง ๆ ใน Nike+ Utility เช่น น้ำหนัก หรือการบอกระยะทางว่าให้เป็นกิโลเมตรหรือไมล์ รวมถึงการคาลิเบรตในการว่ิงและเดินของเราด้วย ซึ่งจะแตกต่างจาก Nike+iPod ที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ จากตัวเครื่อง iPod nano ได้ทันที
การสวมใส่ Nike+ SportBand ทางไนกี้แนะนำว่าเมื่อเราสวมกับข้อมือเราแล้วให้หมุนทางด้านหน้าจอหันเข้าหาตัว ส่วนหนึ่งเพราะเวลาวิ่งเมื่อเรายกแขนขึ้นจะทำให้เห็นข้อมูลต่าง ๆ ได้สะดวกกว่าการมองนาฬิกาแบบปกติที่หน้าจออยู่ด้านบนของข้อมือ
การใช้งานในครั้งแรกทำการซิงค์ให้ตัว Nike+ SportBand รู้จักกับตัวเซนเซอร์ที่รองเท้าค่อนข้างง่ายมาก แค่กดปุ่มวงกลมด้านบนใกล้ ๆ กับหน้าจอค้างไว้ประมาณ 3 วินาทีแล้วเราก็เดินไปเดินมาให้เซนเซอร์ในรองเท้าส่งสัญญาณหากันบนหน้าจอก็จะขึ้นเป็นสัญลักษณ์รูปรองเท้าหมายถึงพร้อมใช้งานได้ทันที ซึ่งเมื่อเราเร่ิมออกวิ่งก็เพียงกดปุ่มวงกลมซ้ำอีกครั้งให้ตัว Nike+ SportBand เร่ิมจับเวลาและระยะทางรวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหลังจากที่เราว่ิงเสร็จเรียบร้อยก็เพียงแค่กดปุ่มวงกลมค้างไว้ 3 วินาทีก็จะเป็นการสิ้นสุดการจับเวลา โดยบนหน้าจอก็จะบอกข้อมูลทั้งหมดที่เราเพิ่งวิ่งเสร็จไปให้ทราบทั้งระยะทาง, ความเร็วเฉลี่ย, เวลาที่วิ่ง และจำนวนแคลอรี่ที่เราเสียไป
โดยเมื่อเรากลับมาถึงบ้านก็จัดการถอดเจ้า Nike+ SportBand มาต่อกับคอมพิวเตอร์ทางช่อง USB เพื่อส่งข้อมูลการว่ิงเข้าไปในเว็บ nikeplus.com เป็นการเก็บสถิติการว่ิงของเราทั้งหมด โดยฟังก์ชั่นอื่น ๆ ที่มีบนเว็บอย่างการท้าวิ่งกับเพื่อน ๆ หรือคนอื่นที่ใช้ Nike+ ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ ในทางกลับกันถ้าเราไม่มีโอกาสได้ซิงค์ข้อมูลหรือลืมซิงค์กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต้องเป็นห่วงอะไรมากนักเพราะ Nike+ SportBand สามารถเก็บข้อมูลการว่ิงของเราได้มากถึง 28 ชั่วโมง ถ้าเฉลี่ยเราวิ่งวันละ 1 ชั่วโมงก็สามารถเก็บข้อมูลได้เกือบ 1 เดือนเลยทีเดียว
แบตเตอรี่
Nike+ SportBand นอกจากที่เราจะถอดตัว Link ออกมาซิงค์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์แล้วยังถือเป็นการชาร์จไฟเข้าตัว Link อีกด้วย(ใช้แบตเตอรี่ภายในแบบลิเธียมไอออน) โดยการชาร์จไฟให้เต็มแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (1.5 ชั่วโมงได้ 80 เปอร์เซ็นต์) จากการทดสอบด้วยตัวเองชาร์ตไฟเต็มแค่ 1 ครั้งสามารถใช้งานทั่ว ๆ ไปทั้งเป็นนาฬิกาและใช้ว่ิง ราว ๆ 2 อาทิตย์แบตเตอร์ลดลงไปแค่ 1 ขีดเท่านั้น
ความสามารถในการกันน้ำของ Nike+ SportBand
จากข้อมูลที่ไนกี้แจ้งมาสำหรับ Nike+ SportBand ว่าสามารถกันน้ำได้ในระดับ IPX-7 ซึ่งหมายถึงว่าสามารถกันน้ำได้ในระดับความลึกไม่เกิน 1 เมตรเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที เท่าที่ทดสอบใช้งานทั่วไปคือใส่ติดตัวตลอดเวลามีโดดฝนบ้าง ล้างมือบ้าง แน่นอนว่าน้ำก็โดนเจ้า Nike+ SportBand ด้วย แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร สรุปว่าการใช้งานในชีวิตประจำวันรวมถึงเวลาเหงื่อออกไม่มีผลกระทบใด ๆ กับ Nike+ SportBand ข้อควรระวังเบื้องต้นคือไม่ควรใส่ Nike+ SportBand ขณะอาบน้ำโดยเฉพาะน้ำอุ่นหรือขณะเข้าห้องเซาน่าเพราะอุณหภูมิสูงมาก ๆ อาจจะทำให้ Nike+ SportBand เสียได้
Nike+ Coach
โปรแกรมช่วยเหลือ Nike+ Coach ที่มีอยู่ในเว็บ nikeplus.com เป็นฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ไม่นานมานี้ หลัก ๆ แล้วจะเป็นตัวช่วยสำหรับการวิ่งให้เหมาะสมกับผู้ว่ิงแต่ละประเภท เช่นถ้าเราเป็นนักว่ิงมือใหม่อยากจะว่ิงระยะทาง 10 กิโลเมตรก็เลือกการว่ิง 10 กิโลเมตรแบบผู้เร่ิมต้น (Beginner) ซึ่งก็จะมีข้อมูลเบื้องต้นว่าเราควรจะว่ิงแต่ละวันเป็นจำนวนกี่กิโลเมตรและควรหยุดพักวิ่งวันไหนบ้าง นอกจากข้อมูลเบื้องต้นที่ไนกี้เตรียมมาให้แล้วเรายังสามารถสร้างโปรแกรมการวิ่งของเราเองได้ด้วย
Nike+iPod หรือ Nike+ SportBand (ความแตกต่างแต่จุดหมายเดียวกัน)
ถ้าจะให้เปรียบเทียบระหว่าง Nike+iPod กับ Nike+ SportBand ว่าอันไหนดีกว่ากัน ต้องบอกว่าคนละแบบคนละอารมณ์กันเลยทีเดียว เพราะถ้าคุณมี iPod nano อยู่แล้วการใช้งาน Nike+ ก็จะได้ความรู้สึกในแบบที่มีเพลงที่เป็นส่วนสร้างสีสรรขณะว่ิงเข้ามาประกอบด้วย ส่วน Nike+ SportBand จะเหมาะสำหรับผู้ที่อยากใช้งาน Nike+ แต่ไม่มี iPod nano แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากลงทุนซื้อ iPod nano มาเพื่อว่ิงเฉพาะกิจแบบนี้กันเท่าไหร่นัก ซึ่งการซื้อ Nike+ SportBand มาใช้งานก็จะได้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปอีกแบบที่ไม่ต้องมีเพลงเข้ามาเป็นส่วนประกอบ แต่สุดท้ายแล้วทั้ง 2 แบบก็มุ่งให้ผู้ใช้งานได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการว่ิงเหมือน ๆ กันเพราะจุดหลักใหญ่ของ Nike+ จะอยู่ในเว็บไซต์ nikeplus.com ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการท้าวิ่งหรือร่วมว่ิงแข่งกับคนอื่น (Chllenges) สถิติต่าง ๆ ของเราและผู้คนทั่วโลกทีใช้งาน Nike+ รวมถึงระบบ Nike+ Coach ที่เพิ่งมีเข้ามาใหม่อีกด้วย
สรุปสำหรับ Nike+ SportBand จำกัดความได้ว่าคุ้มค่ามากถ้าคิดจะลงทุนเพื่อการว่ิงออกกำลังกายเพราะนอกจากได้ฟังก์ชั่นของ Nke+ แล้วยังเหมือนได้นาฬิกาข้อมือเท่ ๆ มาอีก 1 เรือน จุดผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรบ Nike+ SportBand คือขณะใช้ว่ิงไม่สามารถกดสลับมาดูเวลาได้ ส่วนข้อด้อยที่เหมือนไนกี้จะพลาดไปอย่างมากคือไม่มีไฟส่องสว่างที่หน้าจอสำหรับเวลากลางคือหรืออยู่ในที่มืด (หรือไนกี้จะคิดว่าไม่มีใครว่ิงออกกำลังกายตอนกลางคืน?) นอกนั้นโดยส่วนตัวพอใจมากทีเดียวกับ Nike+ SportBand
จุดสังเกต
ราคา : 2,190 บาท
เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ : ไนกี้ (ประเทศไทย)
kangg