Sphero
หูฟังบูลทูธหน้าตาชวนสงสัยก้อนอะไรกลม ๆ แล้วจะใช้ยังไง อยากรู้ว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นแบบไหนและทำอะไรได้บ้างลองติดตามอ่านกันดูกับก้อนหินก้อนนี้ที่ใครต่อใครเรียกว่า “ก้อนหินมีดีไซน์”
รูปร่างหน้าตา
ของทั้งหมดในกล่อง
หูฟัง – ด้านหน้า
หูฟัง – ด้านใน
หน้าตาของ Stone ถือว่างามมาก ๆ ตัวเป็น ๆ เมื่อได้เห็นครั้งแรกต้องบอกว่าปลื้มกว่าที่เห็นบนเว็บ สำหรับ Stone หลัก ๆ แล้วแบ่งเป็น 2 ส่วนคือในส่วนของหูฟังและแท่นชาร์ตที่ทั้งคู่ออกแบบมาเพื่อกันและกันโดยเฉพาะ เร่ิมกันที่ส่วนของหูฟังที่ถูกออกแบบให้เรียบไร้ปุ่มใด ๆ แต่แท้จริงแล้วมีการซ่อนปุ่มไว้หนึ่งปุ่มนั้นคือปุ่มรับ/วางสายโทรศัพท์ที่อยู่ในตำแหน่งตัวหนังสือ Jabra ตรงปลายหูฟัง รูปร่างของ Stone จะเป็นทรงโค้งโดยที่ทางปลายที่ใช้สวมกับหูของเราจะไม่ได้แข็งแต่อย่างใด เมื่อพลิกด้านหลังก็จะเห็นในส่วนของลำโพงหูฟังที่จะเป็นก้านยื่นออกมาเล็กน้อย นอกนั้นก็จะเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงสถานะแบตเตอรี่และสถานะการเชื่อมต่อบลูทูธ โดยสถานะต่าง ๆ จะแสดงเป็นลักษณะการกระพริบไฟแตกต่างกันไป
แท่นชาร์ต
มาว่ากันถึงแท่นชาร์ตที่มีการออกแบบมาสวยมาก ๆ โดยทางด้านหน้าจะเห็นว่ามีการเว้นช่องไว้ใส่ตัวหูฟังตามรูปร่างส่วนโค้งส่วนเว้าโดยเฉพาะ และเมื่อประกอบร่างหูฟังกับแท่นชาร์ตเข้าด้วยกันถือว่าทำเหมาะเจาะเป็นอย่างย่ิง และนอกจากรูปร่างหน้าตาที่บรรยายไปแล้วก็คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของเนื้อวัสดุที่พยายามพลิกคว่ำพลิกหงายก็ไม่พบจุดบกพร่องในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ขนาดเมื่ออยู่ในมือ
สำหรับขนาดและน้ำหนักของทั้งคู่เมื่อนำมาวางอยู่ในมือถือว่าเล็กมาก ส่วนน้ำหนักเฉพาะตัวหูฟังก็ถือว่าเบามากแค่ 7 กรัม ส่วนตัวแท่นชาร์ต 26 กรัม รวมสองอย่างแล้วก็แค่ 33 กรัมเท่านั้น ในหัวข้อทางด้านรูปร่างหน้าตามีสิบก็ต้องให้สิบ เพราะถือว่าดีไซน์ออกมาได้แบบชนิดที่เรียกว่าไม่คาดคิดมาก่อน
สำหรับสเป็คของ Jabra – Stone จัดว่าสเป็คเทพเลยก็ว่าได้
การใช้งาน
หน้าตาเมื่อเก็บหูฟังเข้าแท่นชาร์ต
ความพิเศษของ Stone นอกจากเรื่องการออกแบบแล้ว ยังมีอีกอย่างที่คาดไม่ถึงว่าแท่นชาร์ตที่เห็นอยู่ในรูปไม่เพียงเป็นแค่แท่นชาร์ตธรรมดา แต่เป็นแท่นชาร์ตที่มีแบตเตอรี่ในตัวนั้นหมายความว่าเมื่อเรานำหูฟังมาวางไว้ที่แท่นชาร์ตทุกครั้งก็จะเป็นการชาร์ตไฟไปด้วยในตัวตลอดเวลา และเมื่อมีทั้งแบตเตอรี่ในตัวหูฟังและแท่นชาร์ตแบบนี้ก็คงไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งานว่าจะต้องนำกลับบ้านมาชาร์ตไฟทุกวันหรือไม่ จะเรียกว่าชาร์ตไฟจากที่บ้านครั้งเดียวพา Stone ออกไปได้ทั้งอาทิตย์ก็ว่าได้
ใช้นิ้วดันหูฟังออกมา
ด้านการใช้งานเร่ิมจากการถอดหูฟังออกมาจากแท่นชาร์ตที่เราต้องใช้นิ้วผลักหูฟังจากทางด้านล่างเพื่อให้หูฟังหลุดออกมาจากแท่นชาร์ต จากนั้นก็นำมาเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือของเรา ซึ่งจากสเป็คจะเห็นว่าสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือได้พร้อมกัน 2 เครื่อง โดยการเชื่อมต่อกับเครื่องแรกไม่มีอะไรยุ่งยากเพราะเมื่อถอดหูฟังออกมาจากแท่นชาร์ต ตัวหูฟังก็อยู่ในโหมดค้นหาอุปกรณ์อื่น ๆ ทันที ส่วนการเชื่อมกับโทรศัพท์เครื่องที่สองก็ต้องมีการกดปุ่มรับ/วางสายบนหูฟังค้างไว้เล็กน้อยเพื่อให้ทำการเชื่อมต่อ ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ไฟแสดงสถานะต่าง ๆ
สำหรับไฟแสดงสถานะต่าง ๆ จะมีอยู่ทั้งบนหูฟังและที่ตัวแท่นชาร์ต ซึ่งไฟบอกสถานะบนแท่นชาร์ต ถ้าเป็นการใช้งานนอกสถานที่เมื่อนำหูฟังใส่ลงไปจะเป็นการบอกว่าแบตเตอรี่ในหูฟังยังอยูดีหรือไม่ด้วยไฟสีเขียวและถ้าแบตเตอรี่ของหูฟังใกล้หมดแล้วจะแสดงสถานะเป็นสีแดงเมื่อใส่หูฟังลงไป
การเปิด/ปิดตัวเครื่องจะเป็นระบบอัตโนมัติคือเมื่อแกะหูฟังออกมาจากแท่นชาร์ตจะการเปิดใช้งานทันที และเมื่อต้องการปิดไม่ใช้งานก็เพียงนำหูฟังมาวางกลับเข้าไปที่แท่นชาร์ตเท่านั้น ซึ่งเมื่อวางลงไปแล้วก็จะเป็นการชาร์ตไฟไปในตัวอีกด้วย
ใส่ได้กับหูข้างขวาด้านเดียว
ช่วงคล้องหูยืดหยุ่นมาก
ด้านการสวมใส่ด้วยลักษณะการออกแบบทำให้ Stone สามารถใช้ได้กับหูข้างขวาเพียงข้างเดียว ซึ่งก็จะแปลก ๆ สักหน่อยสำหรับคนที่คุยโทรศัพท์ทางหูด้านซ้าย โดยการสวมใส่ต้องบอกว่าใส่ได้ง่ายมาก ซึ่งในตอนแรกตัวผมเองก็ไม่คิดว่าใส่ได้ง่ายแบบนี้เนื่องจากเห็นว่าลักษณะตายตัวของส่วนของที่ใช้คล้องหูดูแล้วเล็ก ๆ แต่เอาเข้าจริงพอใส่เข้าไปแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าคับอะไรออกจะสบาย ๆ ไปด้วยซ้ำ เหตุนี้ก็เลยกลายเป็นข้อสังเกตอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ต้องนำ Stone ออกมายืดเส้นยืดสายในส่วนของช่วงคล้องหูพบว่าสามารถยืดหยุ่นได้กว้างมากเมื่อเทียบกับขนาดใบหูของคนเรา
การใช้สนทนาโทรศัพท์ เท่าที่ได้ทดสอบพบว่าเสียงที่เราได้ยินดังชัดเจน ส่วนเสียงของเราที่พูดออกไปแม้จะมีระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างแต่ถ้าอยู่ในสถานที่ ๆ มีเสียงอึกทึกมาก ๆ อาจมีเสียงรอบข้างหลุดเข้ามาเล็กน้อย และอาจจะด้วยความที่เป็น Dual Mic เลยทำให้ดูดเสียงได้ไวพอสมควร ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยคุ้นเท่าที่ได้ลองก็คงเป็นเรื่องการปรับระดับเสียงที่แม้จะมีระบบปรับระดับเสียงให้อัตโนมัติ แต่การปรับระดับเสียงเองแบบระบับสัมผัสแบบที่ต้องเลื่อนนิ้วไปตามผิวด้านหน้าของตัวหูฟังอาจจะต้องปรับตัวกันสักหน่อยเพราะยังไม่ชินเท่าไหร่ที่ใช้ระบบลากนิ้วแบบนี้ โดยรวมในด้านการใช้งานอยู่ในระดับดีเป็นที่น่าประทับใจและด้วยความที่รองรับการใช้งานแบบ A2DP จึงสามารถนำมาใช้ฟังเพลงผ่านหูฟังได้ด้วย แต่เรียกว่าเอามาฟังขำ ๆ แก้ขัดระหว่างนั่งทำงานจะดีกว่าที่จะใช้จริง ๆ จัง ๆ
สำหรับเรื่องแบตเตอรี่ยอมรับว่าไม่มีโอกาสทดสอบจริงจังเนื่องด้วยระยะเวลาที่กระชั้นชิด แต่เท่าที่เคยได้ทดลองใช้งานหูฟัง Jabra รวมถึง Jabra HALO ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันการันตีได้ว่า Jabra เขาอึดจริง ยิ่ง Stone เหมือนมีแบตเตอรี่สำรองพกติดตัวไปได้ด้วยตลอดบางทีอาจจะลืมไปเลยก็ได้ว่าชาร์ตไฟครั้งที่แล้วเมื่อวันไหน
สรุปทั้งหมดสำหรับ Jabra – Stone หน้าตาผ่าน ความคล่องตัวผ่าน สเป็คผ่าน ด้านการใช้งานดีน่าประทับใจแต่ยังไม่สุด แม้กลุ่มหูฟังบูลทูธระดับบนตัวเลือกจะมีพอสมควร แต่ Jabra – Stone ก็ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้ใคร ส่วนเรื่องที่ไม่ค่อยชอบก็เห็นจะเป็นวิธีปรับระดับความดังของเสียงที่เป็นระบบสัมผัสแบบที่เอานิ้วลากขึ้นลงทำให้บางครั้งลากนิ้วแรงไปหน่อยเลยพลอยไปกดโดนปุ่มวางสาย นอกนั้นยังนึกไม่ออกว่าจะติอะไรอีก
จุดสังเกต
ราคา : 4,290 บาท
เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ : บริษัทอาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด
kangg