Sphero
เป็นความคิดความฝันมาตั้งแต่ iPad ออกเมื่อปี 2010 วันสักวันจะใช้ทำงานแทนคอมพิวเตอร์วางตักได้ จนแล้วจนรอดผ่านมา 2 ปีกว่าก็ยังไม่ได้ใช้สักทีเพราะแอพฯที่ต้องใช้งานไม่ครบและไม่ได้อย่างใจ แต่วันนี้เข้าปีที่ 3 ของ iPad เริ่มทำได้ (เกือบ) อย่างใจแล้ว
สำหรับบทความนี้จะเป็นการเล่าเรื่องเป็นส่วนใหญ่ครับ อยากมาแชร์ให้ได้อ่านกันว่าถ้าทำงานแบบผมที่ต้องอัพเดทข่าว , เขียนรีวิว, ทำรูปที่ต้องมีการใส่ลายน้ำน้ำด้วย เชื่อว่าหลายคนไม่ไว้ใจ iPad ว่าจะทำได้ดีอย่างที่ทำอยู่บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมเองก็เช่นกันที่ก่อนหน้าไม่เคยไว้ใจว่า iPad จะทำได้อย่างที่เราต้องการจริง ๆ ทำให้เวลาไปเที่ยวต่างจังหวัดนาน ๆ ก็ต้องคอยพกพา MacBook Pro 13″ ไปไหนต่อไหนด้วย จะเก็บเงินซื้อ MacBook Air 11″ ก็แลดูสิ้นเปลืองเงินอีกหลายหมื่นบาท
ฮาร์ดแวร์
ซอฟท์แวร์
สำหรับซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำงานของผมนอกจาก Safari ที่มากับเครื่องแล้ว ก็มีเพิ่มเติมดังนี้
ส่วนแอพฯอื่น ๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องในการทำงานแบบนี้ก็น่าจะเป็นพวกแอพฯรวมข่าวอย่าง News 360 หรือ Zite หรือของไทยอย่างแอพ Thairath เอาไว้สำรวจข่าวหรือเนื้อหาที่เราต้องการนำมาเขียนลงในเว็บ โดยแอพฯไว้อ่านข่าวมีเยอะมาก ซึ่งแต่ละคนก็น่าจะมีแอพฯที่ชอบหรือเฉพาะแนวของตัวเองที่อาจจะแตกต่างกันไป ส่วนแอพเอนกประสงค์อีกแอพฯที่ใช้บ่อยคือ GoodReader ($2.99) ผมเอาไว้ใช้เปิดอ่าน PDF หรือเอาไว้โหลดพวกไฟล์เอกสารที่เป็น PDF, MS Word มาอ่านบ้างเป็นบางครั้งบางคราว หรือถ้าจำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอ mp4 ที่สามารถเปิดดูบน iPad ได้ก็พอไหว
ถ้าเรารู้ว่าพรุ่งนี้มะรืนนี้ต้องเดินทางแล้วก็จัดการซิงค์แอพฯ, ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ให้เรียบร้อย รูปภาพต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ทำงานนำมาซิงค์ลง iPad ให้เรียบร้อย ส่วนพวกพาสเวิร์ดสำหรับการเข้าเว็บต่าง ๆ ส่วนตัวผมใช้ 1Password ไว้เก็บยูสเซอร์กับพาสเวิร์ดของเว็บต่าง ๆ สะดวกดี เหมาะมากสำหรับคนที่มีหลายยูสเซอร์และพาสเวิร์ดหลายๆๆๆๆแบบ จะได้ไม่ต้องมาคอยนั่งนึกว่าเว็บนี้เราใช้ยูสเซอร์ชื่อแบบนี้คู่กับพาสเวิร์ดอันไหนลดการเสียเวลาตรงนี้ไปได้เยอะ ถ้าใครที่ใช้ 1Password บนคอมพิวเตอร์อยู่แล้วก็จัดการซิงค์ข้อมูลกับ 1Password บน iPad ให้เป็นข้อมูลใหม่ล่าสุดให้เรียบร้อยก่อนออกจากบ้าน เท่านี้เราก็พร้อมที่จะนำ iPad ไปใช้ทำงานนอกสถานที่แล้ว :)
เอามาเล่าสู่กับฟังครับว่าไปเที่ยวแล้วก็ต้องอัพเดทเว็บไปด้วย ตอนถึงวันจริงเป็นยังไง ซึ่งตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. ผมหอบเป้ใบใหญ่กับจักรยานขึ้นรถทัวร์มา จ.สระแก้ว พักที่ River Resort ในอ.เมืองครับ ที่นี่เคยมาแล้วตอนหนีน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยที่นี่มี Free Wi-Fi แบบแรง ๆ ให้เราใช้งานบริเวณล็อบบี้ (20Mbps/1Mbps) ส่วนบริเวณตามตึกห้องพักก็มี Wi-Fi ให้ใช้ด้วยเช่นกันแต่ไม่แรงนัก ซึ่งในการทำงานผมก็ต้องมานั่งอยู่ที่ล็อบบี้เพื่อทำงานมากกว่าที่จะทำอยู่ในห้องพัก เพราะต้องการความเร็วของอินเตอร์เน็ต (ผมใช้ iPad รุ่น Wi-Fi) โดยการอัพเดทเว็บของผมตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. ทุกอันจนถึงบทความนี้ทำบน iPad ครับ ตั้งแต่เขียนข่าว, ทำรูป, แปะรูปในเนื้อหา ตอนก่อนจากบ้านก็หวั่น ๆ เหมือนกันว่าจะได้อย่างใจรึเปล่า เพราะเป็นการนำ iPad พร้อมแอพฯที่กล่าวไปแล้วข้างต้นมาใช้ทำงานนอกสถานที่ครั้งแรก (Photoshop touch for iPad เพิ่งออกมาเมื่อต้นปีนี้)
ขั้นตอนการทำงานปกติ – เดี๋ยวจะนึกไม่ออกว่าเวลาทำงานปกติผมทำอะไรแบบไหนบ้าง เลยขอมาย่อให้ได้อ่านกันสั้น ๆ ให้ทราบกันจะได้เปรียบเทียบได้กับการทำงานบน iPad สำหรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์หลัก ๆ ถ้าคนที่ทำเว็บด้วย WordPress ผมเดาว่าคงคล้าย ๆ กันคือ พิมพ์บทความที่เราต้องการลงในแอพฯอย่าง Text Edit, Pages หรือ MS Word ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน (ส่วนตัวผมพิมพ์ใน Text Edit กับ Pages) จากนั้นถ้ามีรูปภาพที่ต้องใส่ประกอบก็จัดการแก้ไขตกแต่งใน Pixelmator แล้วทุกอย่างก็จะไปรวมร่างกันในเว็บของส่วน Admin แล้วก็ปล่อยมาด้านหน้าเว็บให้ได้อ่านกัน
หน้้าตาขณะพิมพ์งานใน Pages บน iPad
ขั้นตอนการทำงานบน iPad ถ้าเป็นการเขียนข่าวที่ไม่ต้องมีรูปประกอบก็เริ่มจากเปิดเว็บเปิดทวิตเตอร์เปิดเว็บเปิดแอพอ่านข่าวมาเช็คข่าวจากนั้นก็เขียนข่าวใน Pages สลับไปมากับการเปิด Safari และ Tweetbot พอเขียนเสร็จก็นำข้อความที่พิมพ์ไว้แล้วทั้งหมดไปแปะไว้ในเว็บผ่านแอพฯ WordPress แล้วก็เซฟเป็น Draft ไว้ แล้วก็จัดการเปิด Safari มาแก้ไข URL ของข่าวนั้นก่อนทำการส่งขึ้นหน้าเว็บ เพราะในแอพ WordPress เราไม่สามารถแก้ไข URL ได้ ถ้าตรงนี้คุณผู้อ่านไม่ได้ต้องทำแบบผมก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยก็ได้ โดยขั้นตอนการทำงานบน iPad ในการเขียนข่าวจะต่างกับบนคอมพิวเตอร์อยู่แค่เรื่องการใช้แอพ WordPress ที่เพิ่มเข้ามา ถ้าเทียบเป็นการเสียเวลาแล้วก็เพิ่มมาอีกไม่เท่าไหร่ครับ
หน้าตาแอพฯ WordPress บน iPad ขณะพิมพ์บทความ
หน้าตาส่วน Admin ของ WordPress บน Safari
ส่วนถ้าเป็นการข่าวหรือบทความที่ต้องมีรูปประกอบก็จะต้องเพิ่มขั้นตอนการทำรูปเข้ามาด้วย ซึ่งตรงจุดนี้ถ้าเทียบกับการทำงานบนคอมพิวเตอร์ (กรณีของผมใช้ Pixelmator บน Mac) ก็จะเห็นความต่างเรื่องความช้าเร็วในการทำงานอยู่พอสมควรถ้าต้องทำรูปจำนวนเยอะ ๆ ส่วนถ้าทำรูปแบบง่าย ๆ ไม่ถึง 10 รูป (ย่อไซส์ เพิ่มสี ปรับแสง ใส่โลโก้เว็บ) ไม่ได้รู้สึกว่าเสียเวลามากขึ้นเท่าไหร่ในการแต่งรูปบน iPad โดยการแต่งรูปแรก ๆ ผมชินกับ Photoshop touch มากกว่าเพราะคุ้นกับวิธีการปรับแต่งรูปมาจากบนคอมพิวเตอร์ แต่หลัง ๆ ถ้าเป็นรูปถ่ายผมเอาเข้า Snapseed แล้วจัดการปรับแต่งสี แสง ของรูปให้เรียบร้อยก่อนแล้วจัดการเซฟลง Camera Roll แล้วค่อยไปเปิดรูปที่ทำแล้วบน Photoshop touch อีกทีเพื่อทำเป็นขนาดภาพที่ต้องการและจัดการใส่โลโก้เว็บแล้วก็จัดการเซฟลง Camera Roll อีกครั้ง ถึงตรงนี้เมื่ออ่านดูแล้วเหมือนจะวุ่นวายอยู่บ้างเพราะตรงทำรูปซ้ำซ้อนไปมาหลายครั้ง แต่ในการทำจริง ๆ ในขั้นตอนของ Snapseed ใช้เวลาไม่นานมากครับ ส่วนใน Photoshop touch ก็เปิดมาเพื่อจัดการย่อไซส์กับใส่เลเยอร์โลโก้เว็บแค่นั้น แล้วก็จัดการเปิดแอพฯ WordPress ที่เราพิมพ์ข่าวพิมพ์บทความไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อใส่รูปภาพประกอบ โดยจุดนี้การอัพโหลดรูปเข้าเว็บผ่านแอพฯ WordPress ชื่อรูปจะไม่ได้เป็นตามที่เราต้องการนะครับ โดยชื่อรูปจะเป็นเหมือนรหัสยาว ๆ ที่เราก็ไม่สามารถกำหนดได้ (ก็ต้องหยวน ๆ กันไป)
หน้าตาแอพฯ Snapseed บน iPad
หน้าตาแอพฯ Photoshop touch บน iPad ขณะทำงาน
และถ้ามีกรณีที่เราต้องใช้วิดีโอจาก YouTube มาประกอบข่าวด้วยตรงนี้การทำงานก็เหมือนกับบนคอมพิวเตอร์คือเปิดหน้าเว็บ YouTube ที่ต้องการและจัดการนำ embed code มาแปะในบทความผ่านแอพฯ WordPress ตรงส่วนนี้สำหรับผู้ที่ไม่รู้โค้ดหรือคำสั่งที่เป็นภาษา HTML ก็จะงง ๆ ว่าเราจะจัดการให้วิดีโอไปอยู่ตรงกลางหน้าได้อย่างไร ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านไม่มีพื้นฐานหรือไม่รู้คำสั่งเลย แนะนำให้เปิดเข้าหลังบ้านของเว็บแล้วไปใช้ WYSIWYG ที่มีการเตรียมปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้ในเว็บเหมือนเดิม เพียงแต่การเปิดใช้งานในส่วน Admin ของ WordPress บน iPad ทำได้ไม่สมบูรณ์ (ถ้าให้เป็นคะแนนก็สัก 5 เต็ม 10) โดยการใช้งานส่วน Admin บน iPad เรียกว่าพอจะใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เช่นการปรับวิดีโอจาก YouTube ตามข้างต้นให้ไปอยู่ตรงกลางหน้า, การทำลิงค์ต่าง ๆ ให้เป็น New Window, ใส่ Tags ต่าง ๆ พวกนี้พอจะทำได้จากการเปิดหน้า Admin ผ่าน iPad แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าไม่สมบูรณ์มากนัก
สำหรับความเสถียรในการทำงานนอกสถานที่บน iPad หลายอย่างก็คงเหมือนกับการหอบคอมพิวเตอร์วางตักมาทำงานด้วยเช่นว่าถ้าที่ ๆ เราไปอินเตอร์เน็ตไม่ดีจะทำงานอะไรยังไง ตรงจุดนี้เราก็ต้องคิดเผื่อไว้ด้วย ถ้าฝนฟ้าตกหนัก ๆ แล้วไฟดับหรือเน็ตเดี้ยงเราจะทำยังไงกันต่อ พวกนี้เราต้องทำใจเผื่อไว้ด้วยเพราะทุกอย่างคงไม่เป็นตามที่เราคาดหวังทั้งหมด ส่วนความเสถียรจากตัวแอพฯที่เอาไว้ใช้ทำงานเท่าที่เจอเองกับตัว Photoshop touch กับ WordPress เป็น 2 แอพฯที่งอแงมากที่สุด แบบว่าใช้งานอยู่เพลิน ๆ ก็เด้งออกมาหน้า Home Screen ซะงั้น ซึ่งในการพิมพ์งานแนะนำว่าอย่าพิมพ์สดบนแอพฯ WordPress เพราะถ้าเจอเหตุไม่คาดฝันเดี๋ยวจะเซ็งเปล่า ๆ ส่วนการทำรูปบน Photoshop touch ยังดีหน่อยที่เปิดมาแก้ไขได้ทีละรูปไม่เหมือนบนคอมพิวเตอร์ที่เราเปิดทีนึง 5 รูป 10 รูปก็ได้ ตรงนี้เลยไม่เซ็งเท่าไหร่ เพราะเต็มที่ก็แค่ทำรูปที่กำลังแก้ไขเมื่อครู่ใหม่อีกครั้ง
สำหรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์หรือ iPad ในยุคนี้นอนว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับผมใช้ iPad (3rd Gen) รุ่น Wi-Fi ก็ต้องคอยหวังพึ่ง Wi-Fi ของสถานที่ ๆ ไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้สำหรับคนที่ยังไม่ได้ซื้อก็ให้ตัดสินใจดี ๆ ว่าจะซื้อรุ่น Wi-Fi อย่างเดียวหรือรุ่นที่ใสซิมแล้วเล่นเน็ตได้เลย โดยการทำงานของผมถ้าไม่มี Wi-Fi ในสถานที่ ๆ ไปทางเลือกสุดท้ายคือเปิดใช้ Personal Hotspot จาก iPhone 4S เพื่อให้ iPad เข้าอินเตอร์เน็ตได้ส่วนอินเตอร์ที่แชร์จาก iPhone จะเป็นความเร็วแบบ EDGE หรือ 3G ก็ขึ้นอยู่กับค่ายมือถือว่าในที่ ๆ เราเขามีการวางโครงข่าย 3G ไว้แล้วหรือยัง
สำหรับการใช้ iPad ทำงานแบบนี้ ผมชอบอย่างหนึ่งคือไม่ต้องห่วงว่าใช้ ๆ ไปแล้วแบตเตอรี่จะหมดก่อนทำงานเสร็จ เพราะการชาร์จแบตเตอรี่แบบเต็ม ๆ ให้ iPad หนึ่งครั้งสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน แต่ทั้งนี้ถ้าเป็น iPad ที่เราใช้งานมาเกิน 1 ปีแล้วถ้าตลอดระยะเวลาที่่ผ่านมามีการใช้งานหนักจนต้องชาร์จแบตเตอรี่วันละ 2 รอบ ตัวเราเองก็ต้องเริ่มสังเกตด้วยว่าแบตเตอรี่ใน iPad ของเราถ้าชาร์จเต็มแล้วสามารถอยู่ได้กี่ชั่วโมงเพื่อจะได้ทราบว่าเครื่องของเราสามารถใช้งานได้นานเท่าไหร่
โดยระหว่างการทำงานถ้าผมอยู่ใกล้บริเวณปลั๊กไฟก็จัดการเสียบชาร์จไปด้วยทำงานไปด้วยเลยจะได้ไม่เสียเวลามานั่งรอนอนรอชาร์จไฟให้ iPad (3rd Gen) ที่เสียเวลาชาร์จไฟนานมากจริง ๆ (~6 ชั่วโมง) ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้ iPad ทั้งเรื่องงานและเรื่องเล่นได้ต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน
โดยตรงจุดนี้ถือเป็นข้อเด่นของ iPad เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์วางตักทำงาน เพราะชั่วโมงการทำงานมากกว่าในกรณีที่เรายังไม่ได้ชาร์จไฟให้อุปกรณ์
สำหรับปัญหาที่พบเรียกว่าเป็นความง่อยของตัว iOS เองที่มองรูป .png ที่เป็นลักษณะพื้นใสเป็นพื้นทึบสีขาว (ในทีนี้คือรูปโลโก้เว็บ) ทำให้การเรียกรูปภาพโลโก้เว็บที่เป็น .png ไปใช้กับทุกแอพฯรูปดังกล่าวจะกลายเป็นพื้นสีขาวทึบไป ตรงนี้ตอนแรกที่ผมเริ่มใช้ Photoshop touch ก็เซ็งเหมือนกันว่าจะแก้ปัญหายังไง สุดท้ายแก้ด้วยการอัพโหลดไฟล์ .png ดังกล่าวเข้าไปในระบบ Cloud ของ Adobe (ใครยังไม่มีเข้าไปสมัครใช้บริการได้ฟรี) ซึ่งในการทำงานบน Photoshop touch เราสามารถล็อกอินเพื่อเข้าไปที่แอคเคาท์ของเราและสามารถนำรูปที่เราอัพโหลดไว้แล้วมาใช้งานได้เลย ซึ่งรูป .png ก็ยังเป็นแบบพื้นใสอย่างทีควรจะเป็นเหมือนเดิม โดยการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud แน่นอนว่าต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตทุกครั้งทำให้อาจจะไม่สะดวกถ้าเราไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ แนะนำว่าให้ดึงรูปมาจาก Cloud แล้วเซฟไว้เป็นโปรเจคใน Photoshop touch พอจะใช้งานก็ค่อย Copy & Paste ข้ามโปรเจคไปมาก็จะสามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น
นอกจากนั้นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่พบคือคุณภาพของรูปเมื่อทำการย่อรูป (Resize) ใน Photoshop touch ภาพจะแตก ๆ ไม่สวยงาม (สังเกตได้จากทุกรูปในบทความนี้) ต่างจากการย่อรูปในโปรแกรมตกแต่งรูปบนคอมพิวเตอร์ โดยตรงจุดนี้พยายามหาปุ่มการตั้งค่าต่าง ๆ ใน Photoshop touch แล้วแต่ก็ไม่เจอ กลับกันถ้าไม่ย่อรูปเลยคุณภาพไฟล์ก็ไม่ได้แตก ๆ หรือมีอะไรผิดปกติ โดยตรงงจุดนี้ทาง Adobe เองคงต้องออกอัพเดทมาแก้ไข ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
สำหรับข้างต้นทั้งหมดหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนทำเว็บหรือบล็อกเกอร์ที่ใช้ WordPress และมี iPad ในครอบครองอยู่แล้ว เท่าที่ผมเขียนสิ่งที่ต้องลงทุนเพิ่มน่าจะเป็นเรื่องการซื้อคีย์บอร์ดอีกสองพันกว่าบาทจะว่าแพงก็แพงครับ แต่ถ้าซื้อมาแล้วช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นก็น่าลงทุนอยู่เหมือนกัน ส่วนถ้าจะเอาไปเทียบการทำงานแบบเดียวกันนี้บน iPad กับบนคอมพิวเตอร์ก็แน่นอนว่าบน iPad ไม่สามารถทำงานได้คล่องและสะดวกเท่า แต่กระนั้นก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่เราไม่ต้องแบกคอมพิวเตอร์หนัก ๆ ไปในลักษณะเที่ยวด้วยทำงานด้วยแบบนี้ (แม้จะบางแอพฯจะยังไม่ได้อย่างใจมากนักก็ตาม) อย่างน้อยคนที่มี iPad อยู่แล้วก็จะได้ทราบว่า iPad สามารถใช้ทำงานแบบนี้ได้เหมือนกัน อย่างน้อยก็ไว้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่มี iPad อยู่แล้วจะไม่ได้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหลายหมื่นเพื่อ MacBook Air ส่วนคุณผู้อ่านที่มี MacBook Air อยู่แล้วถึงบรรทัดนี้คงตัดสินใจได้ว่าพก MacBook Air ต่อเหมือนเดิมจะดีกว่าเพราะน้ำหนักรวมของ iPad+เคส+คีย์บอร์ดก็ไม่หนีจากรุ่น 11″ สักเท่าไหร่
ส่วนคนที่อ่านแล้วคิดในใจว่าฉันไม่ได้ทำเว็บแล้วจะมีประโยชน์อะไร ถ้าดูจากกระบวนการที่ผมเขียนถึงการทำงานขั้นตอนการทำงานส่วนใหญ่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลาย ๆ อาชีพครับ เช่น นักข่าวที่ต้องเขียนข่าวสรุปกับทำรูปประกอบ (Pages+Snapseed) หรือถ้าต้องการตัดต่อวิดีโอประกอบข่าวแบบง่าย ๆ ก็สามารถถ่ายวิดีโอด้วย iPad 2 หรือ iPad (3rd Gen) (กล้องดีกว่ารุ่นเดิมเยอะ) แล้วใช้ iMovie ตัดต่อแบบง่ายแล้วก็จัดการอัพโหลดขึ้น YouTube (ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้) โดยรวมแล้วไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนทำเว็บแต่เป็นใครก็ได้ที่ทำงานในลักษณะคล้าย ๆ กับที่ผมเขียนถึง (เขียนบทความ, ตกแต่งรูปแบบง่าย) ก็สามารถใช้ iPad ทำงานเหมือนอยู่บนคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกัน
kangg