Audio-Technica
Audio-Technica
เกริ่นแค่พอเป็นพิธีว่า iPod nano (7th Generation) มาถึงไทยและเราได้นำมารีวิวให้ได้อ่านกันแล้วว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร
สำหรับ iPod nano รุ่นล่าสุดที่เพิ่งออกถือเป็นรุ่นที่ 7 ของ iPod nano ซึ่งเป็นรุ่นที่มีอายุยืนยาวที่สุดในตระกูล iPod ทั้งหมด โดย iPod nano รุ่นนี้ได้ปรับปรุงให้หน้าจอขยายใหญ่ขึ้นจากรุ่นก่อนหน้าที่แอปเปิ้ลทำหน้าจอเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดจิ๋ว โดยหน้าจอมีขนาด 2.5 นิ้วความละเอียดหน้าจอ 240×432 พิกเซล อัตราส่วนแบบ 16:9 โดยข้างใต้จอมีปุ่มกดมาให้ 1 ปุ่มเหมือนกับ iPod touch
.
ด้านหน้า
前面
ด้านหลัง
背面
เทียบขนาดเครื่อง: ซ้าย – iPhone 5 / กลางบน – iPod nano (6th Gen) / กลางล่าง – iPod nano (7th Gen) / ขวา – iPhone 4「
サイズ比較:左 – iPhone 5 / 中央上 – iPod nano(第6世代) / 中央下部 – iPod nano(第7世代) / 右 – iPhone 4
เทียบขนาดตัวเครื่อง : iPod nano (7th Gen) และ iPad nano (5th Gen)
サイズ比較:iPod nano(第7世代)とiPod nano(第5世代)
รูปร่างหน้าตาสัดส่วนของตัวเครื่องถือว่าบางทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไรมากเพราะตัว iPod nano ก็จะบาง ๆ แบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร สิ่งที่เปลี่ยนไปสำหรับภายนอกคือการเพิ่มปุ่มปรับระดับเสียงมาไว้ด้านข้างตัวเครื่องพร้อมกับปุ่มเล่นเพลงหยุดเพลงมาให้ด้วยเลย สะดวกขึ้นเวลาใช้งานแบบพกพาเพราะจะได้ไม่ต้องคอยเปิดปิดหน้าจอเพื่อทำการกดเล่นเพลงหรือกดหยุดเพลง ด้านบนตัวเครื่องมีเพียงปุ่มเปิดปิดเครื่องที่เป็นปุ่มกด Sleep/Wake ไปด้วยในตัวเหมือนกับ iPod touch ด้านล่างของตัวเครื่องมีช่องเสียงหูฟังอยู่ทางด้านซ้ายและช่องต่อแบบใหม่ Lightning Connector อยู่ด้านขวา
ด้านข้างตัวเครื่องบริเวณปุ่มกดปรับระดับเสียงและปุ่มเล่น/หยุดเพลง
本体側面の音量調節ボタンとスタート/一時停止ボタン周辺
ช่องต่อหูฟัง (ซ้่าย) และช่อง Lightning Connector (ขวา)
イヤホン端子(左)とLighting Connector端子(右)
ขณะเสียบสาย Lightning
Lighting Connector挿入時
ด้านการใช้งาน iPod nano (7th Generation) แม้เครื่องจะยาวขึ้นมาจากรุ่นที่แล้ว แต่การจับถือแบบเต็ม ๆ มือไม่สะดวกนักเพราะขนาดตัวเครื่องจุ๋มจิ๋มก็ต้องระวัง ๆ ตอนถือเครื่องกันสักนิด เปิดหน้าจอขึ้นมาก็จะเห็นไอคอนทรงกลมแปลกตาไปจากไอคอนบน iOS ที่จะเป็นสี่เหลี่ยมขอบมนพอควร การใช้งานหน้าจอสัมผัสของ iPod nano (7th Generation) ทั่วไปก็จะคือ ๆ กับ iPhone/ipod touch ที่อยากเข้าไปเมนูไหนคำสั่งอะไรก็ใช้วิธีกดที่ไอคอนหรือที่ชื่อคำสั่งนั้น ๆ ส่วนการย้อนกลับออกมาจากเมนูนั้นใช้วิธีปัดหน้าจากซ้ายไปขวาจะเป็นการถอยหลังกลับออกมาหรือถ้าต้องการออกมาที่หน้าจอเมนูหลักเลยก็สามารถกดปุ่ม Home ที่ด้านล่างหน้าจอเลยก็ได้ สำหรับภาพพื้นหลังที่เห็นเป็นสีแดงจะเป็นสีที่มีให้เลือกตามสีตัวเครื่อง เครื่องสีแดงภาพพื้นหลังก็จะมีแค่สีแดง เครื่องสีฟ้าภาพพื้นหลังก็จะมีแค่สีฟ้าให้เลือก ซึ่งภาพพื้นหลังในเครื่องมีให้เลือกมีแค่ 5 รูปเท่านั้น (สีแดง 4 ภาพ และสีเทา 1 ภาพ) โดยลวดลายของภาพพื้นหลังก็จะแตกต่างกันนิดหน่อย ในส่วนของนาฬิกาก็ไม่มีให้เปลี่ยนโดยหน้าจอนาฬิกาก็จะมีแค่แบบเดียวคือเป็นพื้นขาวแล้วตัวเลขและเข็มจะเป็นสีตามตัวเครื่อง
เมนูทั้งหมดบนเครื่องหลังเปิดเครื่องขึ้นมาครั้งแรก
最初に電源をONにした際に表示される全メニュー
หน้าจอแสดงผลขณะฟังเพลงถอดแบบมาจาก iPhone/iPod touch โดยการแสดงเนื้อเพลงสามารถแสดงผลได้ 4 บรรดทัด การควบคุมเครื่องขณะฟังเพลงหลัก ๆ ก็จะเป็นการกดคำสั่งบนหน้าจอหรือใช้ปุ่มกดด้านข้างตัวเครื่องในการควบคุม ส่วนปุ่ม Home ที่อยู่ด้านล่างหน้าจอถ้าเราอยู่ในหน้าจอ Hone Screen หรืออยู่ในเมนูอื่นการกดปุ่ม Home 2 ครั้งติดกันจะเข้าสู่หน้าจอเล่นเพลงทันที (Now Playing)
หน้าจอแสดงผลขณะเล่นเพลง
音楽再生時の画面表示
หน้าจอแสดงผลขณะดูเนื้อเพลง
歌詞を見る際の画面表示
สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใน iPod nano (7th Generation) ที่เห็นชัดเจนสุดคงเป็นการเพิ่ม Bluetooth เข้ามาทำให้เราสามารถเชื่อมต่อ iPod nano กับลำโพงไร้สายแบบ Bluetooth ได้ด้วย ซึ่งช่วยเพ่ิมความสะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในบ้านหรือบนรถที่เครื่องเสียงรองรับการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth
เชื่อมต่อกับลำโพง Blutooth
Bluetooth対応スピーカーとの接続
การดูวิดีโอและดูรูปใน iPod nano (7th Generation) แม้จะมีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้น แต่ก็ถือว่ายังเล็กอยู่ดีการดูวิดีโอและรูปภาพถือว่าเป็นของแถมที่มีไว้เผื่อว่าต้องใช้ในบางครั้งบางคราว
ขณะดูวิดีโอ
ビデオ視聴時
ขณะดูรูปในแนวตั้ง
縦にしての画像閲覧時
ในส่วนของการฟังวิทยุจำเป็นต้องต่อหูฟังเพื่อให้เป็นสายอากาศไปในตัว โดยการฟังวิทยุจะฟังผ่านหูฟังได้อย่างเดียว แม้เราจะเชื่อมต่อตัวเครื่องกับลำโพง Bluetooth ไว้ก็ไม่สามารถเลือกให้เสียงมาออกที่ลำโพงได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียงดายจริง ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ การใช้งานในส่วนวิทยุตัวเครื่องรองรับการปรับคลื่นวิทยุทศนิยม 1 ตำแหน่งแค่ .0 หรือ .5 เท่านั้น ไม่รองรับคลื่นที่เป็น .25 หรือ .75
หน้าจอขณะฟังวิทยุ
ラジオをリスニング時のディスプレイ表示
การรับสัญญาณวิทยุไม่มีอะไรให้ต้องติหรือต้องชมเป็นพิเศษ เพราะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ๆ เราอยู่ว่าเป็นจุดที่สามารถรับคลื่นวิทยุได้ดีหรือเป็นจุดอับสัญญาณ ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลังก็แน่นอนว่ามีคลื่นแทรกเข้ามาด้วยแบบไม่ต้องสืบ
อีก 1 เมนูที่เกี่ยวข้องกับการใช้หูฟังคือ Voice Memo หรือการบันทึกเสียงที่จะมีเมนูนี้ปรากฏขึ้นมาต่อเมื่อใช้หูฟังที่มีไมโครโฟนติดมาด้วย ซึ่งหูฟัง EarPods ที่ให้มากับ iPod nano เป็นรุ่นที่ไม่มีไมโครโฟนทำให้เวลาต่อ EarPods เข้ากับตัวเครื่องแล้วจะไม่มีเมนูนี้ปรากฏขึ้นมาแต่อย่างใด ด้านการบันทึกเสียงเท่าที่ลองกับหูฟังของ iPhone 4S ที่มีไมโครโฟนและรีโมทบนสายหูฟังถ้าห้องเงียบ ๆ ระยะประมาณ 60 เซนติเมตรยังสามารถรับเสียงได้ดี
หน้าจอขณะบันทึกเสียง
音声録音時のディスプレイ表示
การตั้งค่าในส่วนของ Settings สิ่งที่ขัดใจคือเราไม่สามารถตั้งค่าระยะเวลาของความสว่างหน้าจอได้ว่าจะให้สว่างกี่นาทีแล้วค่อยให้จอค่อย ๆ มืดลงไป ซึ่งตรงจุดนี้จะเป็นค่าอัตโนมัติที่โดยถ้าเราไม่กดปุ่มใด ๆ เลยเป็นเวลา 20 วินาทีหน้าจอก็จะมืดลงและพอถึง 60 วินาทีหน้าจอก็จะดับลงไปเองโดยอัตโนมัติ
การใช้งานในส่วนอื่น ๆ อย่าง Fitness ที่เข้าไปแล้วจะมีให้เลือกว่าจะเดินหรือวิ่งออกกำลังกาย โดยตรงจุดนี้ถ้าเราเลือกเป็นการวิ่งออกกำลังกายก็คือ Nike+ นั้นเอง โดยการใช้ Nike+ ใน iPod nano (7th Generation) สามารถใช้งานได้เลยไม่ต้องต่อกับเซ็นเซอร์ที่รองเท้าอีกต่อไป ซึ่งก็สะดวกในการใช้งานดี และก็แน่นอนว่าเราสามารถโอนข้อมูลเข้าเว็บ Nike+ ได้ด้วย
หน้าจอในส่วนของ Fitness (Nike+)
「Fitness」(Nike+)のディスプレイ表示
ด้วยความที่ iPod nano ทุกรุ่นที่ผ่านมาก็ไม่ได้ใช้พลังงานอะไรเยอะอยู่แล้ว เรื่องระยะเวลาการใช้งานจากการชาร์จแบตเตอรี่เต็ม 1 ครั้งเราสามารถใช้ฟังเพลงได้ตลอดทั้งวัน โดยผมลองเสียบหูฟังและเปิดเพลงไปเรื่อย ๆ ราว 5 ชั่วโมงแบตเตอรี่ลดลงไปนิดหน่อยเท่านั้นตามรูปด้านล่าง
โดยรวมสำหรับ iPod nano (7th Generation) อารมณ์เหมือนกับว่าเป็นการยืดหน้าจอให้ยาวขึ้นมาจากรุ่นที่แล้วและใส่ฟังก์ชั่น Bluetooth เข้าไปให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งเรื่อง Bluetooth เชื่อผู้อ่านบางคนอาจจะไม่ได้ใช้เลยด้วยซ้ำ ดูแล้วแอปเปิ้ลก็คงไม่รู้ว่าจะพัฒนาหรือต่อยอด iPod nano ไปทางไหนแล้วหรือเปล่า เพราะตัวเครื่องก็วน ๆ อยู่แค่สีตัวเครื่องเฉดใหม่, หน้าจอใหญ่ขึ้นกว่ารุ่นเดิม มีทำแปลกใหม่ตอนรุ่นที่ 6 ที่หน้าจอเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสนำมาเป็นนาฬิกาข้อมือได้ นอกนั้นถ้านับที่หัวใจหลักของความเป็น iPod nano ก็จะซ้ำ ๆ กันมาตั้งแต่รุ่นที่ 4 แล้ว ถือว่า iPod nano (7th Generation) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากและไม่รู้ว่าอนาคตของ iPod nano แอปเปิ้ลจะเตะไปทางไหนอีก
จุดสังเกต
ราคา : 5,500 บาท
—————–
iPod nano(第7世代)がタイへやって来るとお伝えしていたので、筆者は今回、レビューで長所・短所をお知らせしたい。
iPod nanoは今回の最新モデルで第7世代となる。iPodのラインナップの中で最も長い歴史を持つモデルだ。iPod nanoは今回のモデルでディスプレイが従来の極小正方形サイズより大きく、2.5インチ、解像度240×432ピクセル、比率16:9に変更された。ディスプレイ下部にはiPod touchと同じくボタンが1つ備わっている。
本体は実に薄いが、iPod nanoは以前から薄かったので、この点から特にこれといった感銘は受けない。外観の変更点は、本体側面に音量調節ボタンが一時停止ボタンとともに追加されたことだ。音楽再生操作のためにディスプレイを点けたり消したりしなくて済むので、携帯しての利用時に操作し易くなった。前面には、iPod touchと同じくSleep/Wakeのボタンがあるのみとなっている。背面には、左側にイヤホン端子が、右側にLighting Connector端子がある。
使用に関しては本体が長くなったとは言え依然小さく、手に持つには多少不便なので注意が必要だ。ディスプレイを点けると丸いアイコンが現れる点が、iOSの角のとれた四角いアイコンを見慣れた目には奇異に映る。タッチ・ディスプレイの使用方法はiPhone/iPod touchと同じで、メニューに入ったり設定をしたりするにはアイコンや設定項目をタッチして中に入っていく。メニューから戻るにはディスプレイを左から右にスワイプする。ホームメニューに戻るにはディスプレイ下部のホーム・ボタンを押せばよい。メニューの赤色のスクリーン画像は本体色と同色となっている。本体が赤であればスクリーンも赤だけで、本体がブルーならスクリーンもブルーだけだ。スクリーンの模様は5種(赤4種、グレー1種)のみで模様が多少異なっている。時計も変更ができず、白いバックに本体と同色の数字と針のデザイン1種だけだ。
音楽再生時の画面表示はiPhone/iPod touchを踏襲している。歌詞の表示は4行が可能だ。音楽再生時の操作は、ディスプレイ上の操作ボタンをタッチするか本体側面のボタンを操作する。ディスプレイ下部にあるホーム・ボタンだが、ディスプレイ表示がホーム・スクリーンか他のメニューにいる場合は、ホーム・ボタンを2回連続押しすることで演奏画面(Now Playing)に飛ぶ。
iPod nano(第7世代)に追加された機能で最も目を引くのは、Bluetoothの追加だ。iPod nanoとBluetooth対応スピーカーをつなぐことができるようになったのだ。自宅内やドライブ中を問わず、Bluetooth対応機器と接続しての利用が可能になり利便性が向上した。
ビデオや画像を見ることについては、ディスプレイのサイズが小さいとはいえ、小さいなりの良さがある。ビデオや画像を見られるのはオマケ機能で、どうしても使わなければならない時のためのようなものだ。
ラジオのリスニング時には、アンテナ機能を兼ねたイヤホンを接続しなければならない。つまりラジオはイヤホンを通してしか聴くことができないのだ。たとえBluetooth対応スピーカーと接続したとしても、スピーカーから音を出すように選択することができない。この点は残念でならない。ラジオの周波数選択は0.5刻み、つまり「.0」または「.5」のみだ。「.25」や「.75」の周波数にはチューニングすることができない。
ラジオの電波受信品質については善し悪しを評するような特別なことは何も無い。ユーザーがいる場所次第で電波受信状態も変わるからだ。状態が悪い場所なら混信もする。
イヤホンを使うもう一つのメニューは、「Voice Memo」だ。このメニューはマイク付きのイヤホンを接続した際に表示される。iPod nanoに標準で付属しているEarPodsはマイクが付いていないために、EarPodsを接続してもこのメニューは表示されない。「Voice memo」での録音は、iPhone 4S用のマイク付きイヤホンで試した限りでは、静かな部屋で60cm離れた場所からでも音声を良く拾っていた。
「Setting」内での各種設定で残念な点は、ディスプレイのライト点灯時間を何分間と設定できないことだ。ボタンに触れないと20秒で暗くなり、60秒で完全に消える自動設定になっている。
他では「Fitness」は、歩くか運動で走るかを選択でき、運動で走る方を選択すると、「Nike+」の機能となる。iPod nano(第7世代)の「Nike+」は、靴のセンサーにつながなくてもそのままで利用可能だ。なかなか良い感じで利用できる。もちろんデータをサイト「Nike+」に転送することも可能だ。
iPod nano歴代モデルも電力消費量は多くなかった。バッテリーのフル充電状態からの使用時間については、1日中音楽再生を楽しめるぐらいだ。イヤホンを差して音楽を約5時間流しっぱなしにしたところ、バッテリーは、上記写真のように少し減っただけだった。
総合すると、iPod nano(第7世代)は、ディスプレイが従来に比べて縦長になり、Bluetooth機能が追加された。Bluetoothについて、読者の中には全く使わない人もいるだろう。思うにAppleはiPod nanoをどういった方向に開発し高めていくべきなのか考えがまとまっていないのかもしれない。本体をとっても、新色登場とディスプレイの大サイズ化の繰り返しだけだからだ。第6世代ではディスプレイが正方形になり、腕時計にすることができるという斬新さがあった。それ以外ではiPod nanoのメインの部分は第4世代から変わり映えがしない。iPod nano(第7世代)は変更点が非常に少ないと言える。iPod nanoの将来をAppleがどのような方向へ蹴り進めるのか見えてこない。
注目点
・Bluetoothが追加。
・使用について総合的には従来と何も変わらない。
・標準付属品のイヤホン「EarPods」にはマイクが無い。
・バッテリーは長時間使用可能。
・ビデオ視聴より音楽リスニング向け。
価格:5,500バーツ
kangg