Sphero
เป็นสไตลัสที่ทำออกมาให้รับรู้ถึงแรงกดจากการเขียนหน้าจอ iPad ได้ ทำให้เราสามารถวาดเส้นหนักเบาในน้ำหนักต่างกันได้ น่าสนใจมากจริง ๆ กับ Anodit – Jot touch
สำหรับ Adonit – Jot touch เป็น Bluetooth Stylus ที่ออกแบบมาให้รับรู้แรงกดเพื่อให้รู้
ว่าน้ำหนักที่เรากำลังวาดลงไปเป็นเส้นบางเบาหรือเส้นหนัก ๆ เข้ม ๆ โดยตัว Adonit – Jot touch ในกล่องจะมีตัวสไตลัสและแท่นชาร์ตไฟ นอกจากนั้นก็มีหัวสไตลัสมาให้เปลี่ยนด้วยอีก 1 อัน
ตัวด้าม Adonit – Jot touch ด้านหัวสำหรับวาดเป็นเหมือนกับ Anodit ทุกรุ่นที่ออกแบบมาเป็นหัวเล็ก ๆ มีจานพลาสติกคลุมอยู่อีกชั้น ความต่างของหัวสำหรับวาดของ Jot touch กับรุ่นอื่น ๆ ของ Anodit คือบริเวณหัวสำหรับวาดของ Jot touch จะสามารถยุบเข้าไปได้เล็กน้อยสำหรับการรับรู้แรงกด
บริเวณตัวด้ามจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่มที่เป็นทั้งปุ่มเปิดปิด, ปุ่มจับคู่อุปกรณ์ และปุ่ม Shotcut Buttons สำหรับการใช้งานในแต่ละแอพฯ ด้านท้ายของสไตลัสเป็นช่องรับไฟจากการชาร์จ โดยบริเวณดังกล่าวจะเป็นแม่เหล็ก เอาไว้วางกับที่ชาร์จไฟที่ให้มาในกล่อง โดยที่ชาร์จไฟออกแบบเหมือน Thumb Drive ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ มีหัวชาร์จสำหรับเสียบกับช่อง USB โดยจุดนี้ผมลองนำมาใช้งานกับช่อง USB บน MacBook Pro และอแดปเตอร์ 10W ของ iPad ก็สามารถใช้งานได้ปกติไม่มีปัญหา
น้ำหนักของตัวด้ามสไตลัสถือว่ามีน้ำหนักพอควร โดยน้ำหนักส่วนใหญ่จะไปอยู่ตรงด้านปลายที่ชาร์จไฟ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ตัวด้ามจะอยู่บริเวณร่องนิ้วโป้งพอดี
ด้านการใช้งาน Adonit – Jot touch ปัจจุบันมีแอพฯที่รองรับการใช้งานร่วมกับแรงกดของสไตลัสอยู่สิบกว่าแอพฯ ที่ชื่อดัง ๆ อาทิ Photoshop touch, Sketbook, Sketch Club, Zen Brush, NoteShelf, Procreate ซึ่งแต่ละแอพฯที่รองรับแรงกด (Pressure Sensitive) อาจจะรองรับการใช้งานปุ่มฟังก์ชั่นที่ตัวด้ามไม่เหมือนกัน ซึ่งแอพฯที่ผมใช้ทดสอบคือ Procreate เป็นแอพฯที่รองรับทั้ง Pressure Sensitive และ Shotcut Buttons บนตัวด้าม
การทดสอบ Adonit – Jot touch เริ่มจากที่เราต้องจับคู่ Bluetooth ตัวสไตลัสกับตัวเครื่อง iPad เสียก่อน จากนั้นในแต่ละแอพฯที่รองรับก็จะมีส่วนของการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับ Adonit – Jot touch ซึ่งเราก็ต้องเปิดฟีเจอร์นี้เสียก่อน พอตั้งค่าทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยก็จัดการลงมือวาดกันได้เลย
สิ่งที่ผมพยายามทดสอบความแตกต่างของการรับน้ำหนักของการวาดเส้นหนักเบาของ Adonit – Jot touch กับสไตลัสที่ผมใช้งานอยู่ปกติคือ Wacom – Bamboo Stylus ก็จะเห็นความต่างของการรับแรงกดได้ชัดเจน โดย Wacom – Bamboo Stylus แน่นอนว่ารับน้ำหนักได้ระดับเดียว ส่วน Adonit – Jot touch สามารถขีดเส้นบาง เส้นหนา ตามน้ำหนักมือที่เราลงไปได้หลายระดับความหนักเบา เช่นถ้าเราวาดในน้ำหนักมือแบบเบา ๆ เส้นก็จะบาง ๆ จาง ๆ พอเรากดมือหนักหน่อยเส้นก็จะเข้มขึ้นหนาขึ้น
ทดสอบลากเส้นแบบหนักเบาของ Adonit – Jot touch
Adonit – Jot touchで筆圧を強く線を引くテスト
เทียบการลากเส้น – ซ้าย : Wacom Bamboo Stylus / ขวา : Adonit Jot touch
線を引いた比較 – 左:Wacom – Bamboo Stylus / 右:Adonit – Jot touch
สำหรับปุ่ม Shotcut Buttons บริเวณตัวด้ามเมื่อใช้งานร่วมกับแอพฯ Procreate จะใช้เป็นปุ่ม Undo และ Redo ได้ ซึ่งก็ช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นนิดหน่อยในกรณีที่เราวาดแล้วจะไม่ได้อย่างที่ต้องการเราก็สามารถกด Undo ลบเส้นวาดดังกล่าวออกไปได้โดยไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ ที่หน้าจอ นอกจากนั้นถ้าในกรณีแบตเตอรี่ของตัว Adonit – Jot touch หมดหรือเราลืมชาร์จก็ยังสามารถใช้งานเป็นสไตลัสปกติได้เหมือนทั่วไป
เส้นที่วาดมีทั้งน้ำเบาเส้นบางและน้ำหนักเส้นหนักเส้นหนา
薄い線と濃い線での描画
จากการทดสอบการใช้งานโดยรวม Adonit – Jot touch ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสไตลัสที่รองรับน้ำหนักการวาดเขียนบน iPad ที่ดี แต่ทั้งนี้แอพฯที่รองรับเรื่อง Pressure Sensitive ในปัจจุบันถือว่ายังไม่มีไม่เยอะนัก จุดนี้ใครที่อยากใช้งานสามารถเข้าไปดูก่อนได้ว่าแอพฯที่เราต้องการใช้รองรับ Pressure Sensitive หรือไม่ได้ที่ adonit.net/product/jot-ready-apps
จุดสังเกต
ราคา : 3,490 บาท
เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ : Generation S Co., Ltd
หาซื้อสินค้าได้ที่ :
—————-
iPadのディスプレイ上に描いた際に筆圧を感知するスタイラスペンのため、描画線の濃淡を描き分けることが可能だ。Adonit – Jot touchは実に興味深い。
Adonit – Jot touchは、描いた線の筆圧の濃淡を感知するBluetoothスタイラスペンだ。パッケージにはスタイラスペンと充電器が同梱されている他に、スタイラスペンの替え用ペン先が1つ付属している。
Adonit – Jot touchのペン先はAdonitの他モデルと同じく小さく、プラスチック製の円型のプレートが先を覆っている。Adonit – Jot touchがAdonitの他モデルと異なる点は、筆圧をかけるとペン先が多少中に引っ込むようになっていることだ。
本体部分には、オン・オフボタン、デバイスとの接続ボタン、アプリで使用するショットカット・ボタンの3つのボタンが配置されていて、ペンの末端には充電器との接続端子が備わっている。この部分は磁石になっていて、パッケージの中では充電器に設置した状態で置かれている。充電器は Thumb Driveのようなタイプで、小さくも大きくもないサイズだ。USB端子接続で充電するようになっているのだが、筆者はMacBook ProのUSB端子とiPadの10Wアダプターで試したところ、問題無く普通に使えた。
スタイラスペンは適度な重さだ。重さは末端部にある充電部によるところが大きいが、その部分は握るとちょうど親指の付け根に乗る感じだ。
Adonit – Jot touchの使用についてだが、現在スタイラスペンの筆圧感知に対応するアプリは10種ほど存在する。メジャーなものではPhotoshop touch、Sketbook, Sketch Club、Zen Brush、 NoteShelf、Procreateといったアプリがある。ただしスタイラスペン本体の機能ボタンへの対応は一様ではない。筆者が試したのは Procreateで、筆圧にもショットカット・ボタンにも対応している。
Adonit – Jot touchのテストは、まずスタイラスペンとiPadをBluetooth接続することから始まる。それから各対応アプリのAdonit – Jot touch関係の設定画面をいじることになる。筆者もまずこの機能を開いて全て設定し終えてから、実際に描く手順となった。
筆圧感知の度合いの違いをAdonit – Jot touchと筆者がいつも使用しているWacom – Bamboo Stylusで比較してみた。違いは歴然で、Wacom – Bamboo Stylusが筆圧を一定レベルでしか感知しないのに対して、Adonit – Jot touchは描いた際の筆圧によって線を薄くも濃くも描き分けることができた。
本体部分にあるショットカット・ボタンは、アプリ Procreateで使う場合、UndoとRedoボタンとして使うことができる。したがって描いてから気に入らない場合には、ディスプレイ上で操作せずともUndoボタンを押すだけで線を消去することができ、使い勝手が良い。また、Adonit – Jot touchがバッテリー切れの際や充電を忘れた際には、一般のスタイラスペンと同じように使うことも可能だ。
Adonit – Jot touchのテスト結果を総合すると、iPad上で筆圧を感知して描くことに対応した優れたスタイラスペンの第一歩と言えるだろう。しかしながら筆圧感知に対応したアプリは現時点であまり多く無い。この点について、利用したいアプリが筆圧感知に対応しているかどうかをこちらのサイトでまず確認できる。 adonit.net/product/jot-ready-apps
注目ポイント
価格:3,490バーツ
テスト製品提供:Generation S Co., Ltd
入手可能先
kangg