Audio-Technica
Audio-Technica
ผลสำรวจ Digital Publishing Survey โดย Aliance for Audited Media (AAM) พบว่า 87% ของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในอเมริกามีแอพบน iPad แล้วเรียบร้อย
ผลสำรวจของกลุ่ม AAM เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ดิจิตอลมีสิ่งที่น่าสนใจคือหนังสือพิมพ์และนิตยสารในอเมริกาต่างก็ทำเป็นแอพบน iPad แล้วมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก และราว ๆ 50 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมดยอมจ่ายเงินสมัครสมาชิกเพื่ออ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารอีกด้วย
นอกจากนั้นผลสำรวจบอกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแผนลดการซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสารฉบับกระดาษลงภายใน 5 ปี
แม้กลุ่มตัวอย่างในผลสำรวจจะน้อยก็ตาม (210 คน) แต่หลายส่วนในผลสำรวจน่าสนใจมาก ใครที่เกี่ยวข้องกับวงการสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ นิตยสาร พ็อกเก็ตบุ๊ค และผู้ที่สนใจ แนะนำให้ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มมาอ่านครับ (23 หน้า)
ที่มา : macgasm.net , รายงานฉบับเต็ม auditedmedia.com
สำหรับแวดวงสิ่งพิมพ์ในบ้านเราว่าไปก็เป็นช่วง ‘ลองของ’ นิตยสารหลายเล่มลองทำเป็น PDF มาให้ดาวน์โหลดผ่านแอพฯต่าง ๆ ซึ่งการทำเป็น PDF คงไม่ใช่ทางที่ถูกของ Digital Magazine ในยุคนี้ ยังไม่รู้ว่านอกจากนิตยสาร Mars และอีก 2-3 ฉบับที่ทำเป็น Digital Magazine เต็มรูปแบบที่เนื้อหามีทั้งตัวหนังสือ, รูปภาพ, และวิดีโอไปพร้อมๆ กันแล้ว ปีหน้าจะมีสักกี่เล่มที่จะลงทุนทำ Digital Magazine กันจริง ๆ จัง ๆ
แอพฯหนังสือพิมพ์รอแล้วรอเล่าก็ยังไม่มีใครทำเป็นรูปเป็นร่างกันสักที ยกเว้น ‘ไทยรัฐ’ ที่พัฒนาแอพฯมาอย่างต่อเนื่องจนตอนนี้เรียกว่าเข้าท่ามากที่สุดในบรรดาแอพฯหนังสือพิมพ์ของไทย ส่วนกลุ่มหนังสือพิมพ์ธุรกิจยังไม่เห็นฉบับไหนกล้าทำแอพฯดี ๆ แบบให้จ่ายรายเดือนค่าอ่านที่ไม่ใช่ PDF กันสักฉบับ
สุดท้ายคือกลุ่มพ็อกเก็ตบุ๊คที่ดูจะขยับตัวช้าสุดในการก้าวมาอยู่ใน Smart Phone และ Tablet สังเกตจากพ็อกเก็ตบุ๊คที่อยู่ในแอพฯ AIS Bookstore , B2S ที่เป็นแอพฯในเครือเดียวกัน พ็อกเก็ตบุ๊คที่มีขายอยู่ในแอพฯส่วนใหญ่ไม่ใช่หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คระดับชั้นนำ คำถามคือเกิดอะไรขึ้นหรือสำนักพิมพ์กลุ่มนี้เขามีวิธีคิดเกี่ยวกับการทำเป็นดิจิตอลอย่างไร ทำไมถึงยังไม่ทำสักที
iPad ในไทยเร่ิมจำหน่ายเป็นทางการมาตั้งแต่ปลายปี 2010 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานไม่น้อยกว่า 300,000 เครื่อง ยังไม่นับรวม Android Tablet ที่ผมเองไม่มีข้อมูลว่าปัจจุบันมีกี่หมื่นกี่แสนเครื่อง ซึ่งตัวเลขของ Tablet กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ อยากให้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะนิตยสาร, หนังสือพิมพ์ และพ็อกเก็ตบุ๊คคิดทำหนังสือเวอร์ชั่นดิจิตอลจริง ๆ ที่ไม่ใช่แค่ PDF บ้าง
—————–
Aliance for Audited Media (AAM) が実施した調査Digital Publishing Surveyによると、アメリカ国内の新聞・雑誌の87%がiPadアプリ化を済ませている。AAMグループの電子書籍に関する調査結果は興味深いものだ。アメリカ国内の新聞・雑誌のiPadアプリ化が87%にまで達し、なおも増加傾向にあるのだ。うち約50%が新聞・雑誌購読料を支払っている。
さらにアンケート回答者の97%が、5年以内に紙の新聞・雑誌購読を減らす予定との結果も出ている。
アンケート回答者が少ない(210人)とは言え、調査結果の多くの部分が非常に興味深い。新聞・雑誌・書籍等の出版業界関係者や興味のある方には、レポート全体(全23ページ)をダウンロードして読んでみることをお勧めしたい。
出典: macgasm.net ,レポート全体 auditedmedia.com
タイ国内の出版業界については、言うなれば「試行期間」だ。多くの雑誌がアプリを通してPDF版のダウンロードを行っているが、今の時代、PDF版作成が電子書籍の正しい道とは言えないだろう。雑誌「Mars」の他あと2~3誌が本格的な電子書籍として1冊丸ごとの記事・写真のほかにビデオまで組み込んで世に出ているが、来年はさらに何誌が投資を行い本格的に電子書籍化するのだろうか。
新聞アプリについては待てども暮らせどもどの社もリリースする気配が無い。例外は「タイラット」紙で、徐々に改良してタイ国内の全新聞アプリのうちもっともそれらしい形になっている。経済紙では、月刊購読料を支払うタイプで、PDF版ではないクオリティの高いアプリを製作するところがまだ出現していない。
一般書籍は、スマートホンやタブレット端末内に入り込んでくる進化がもっとも遅い。アプリのAIS BookstoreとB2Sは同一系列のアプリなのだが、それらの中を見てみると、販売されている書籍の大部分は売れ筋や有名な書籍ではない。一般書籍を扱う出版社の電子書籍に対する考えはいかなるものなのだろうかとの疑問が湧く。なぜ電子書籍化しないのだろうか。
タイ国内でiPadは2010年に正式発売となり、現在300,000台以上が使われている。このほかにまだAndroidタブレットがあるが、筆者はその現在の台数を把握していない。いずれにしてもタブレット端末の台数は日増しに増加している。新聞、雑誌、一般書籍を問わず、出版社にはPDF版ではない本格的な電子書籍を製作してもらいたいものだ。
kangg