Audio-Technica
Audio-Technica
ชื่อ Mailbox ถ้าเป็นคนที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับแอพฯบน iOS อาจจะเคยได้เห็นข่าวผ่าน ๆ มาบ้างตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผ่านมา 2 เดือนตอนี้แอพฯ Mailbox เปิดให้ดาวน์โหลดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าดาวน์โหลดมาแล้วจะใช้ได้เลย เพราะต้องรอคิวกันยาวเหยียด วันนี้เรามาดูรีวิวเจ้าแอพฯ Mailbox กันว่ามีดีสมกันที่ต้องรอคิวหรือไม่
สำหรับ Mailbox ถือเป็นแอพฯจัดการอีเมลสำหรับ iPhone ที่เล่นตัวมาก ๆ เพราะปัจจุบันมีการรอใช้งานกันหลายแสนคิวแล้ว ส่วนตัวผมรออีก 3 แสนกว่าคิวก็จะได้ใช้งานเรียกว่ารอกันจนลืมถึงจะได้ใช้ เหมือนโชคเข้าข้างที่อยากเห็นใครสักคนมารีวิวให้อ่านเป็นภาษาไทย เพราะคุณ @everysundays ในทวิตเตอร์ที่รอคิวแค่หลักหมื่นได้ออกปากว่าถ้าได้ลองแล้วจะมาบอกเล่าให้ฟังว่า Mailbox
เป็นอย่างไร พอได้โค้ดมาปั๊บคุณ @everysundays ก็เขียนถึง Mailbox มาให้เราลงในเว็บ siampod.com
จากนี้ไปเป็นการรีวิวแอพฯ Mailbox จากคุณ @everysundays ครับ โดยรูปภาพมาจากการลงแอพฯ Mailbox บน iPad เลยอาจจะดูใหญ่ไปสักนิด
———————————————-
หลังจากรอมานานในที่สุดก็ได้ลองใช้เสียทีครับ (ผมคิวที่สองหมื่นเจ็ดพันกว่า รอใช้อยู่ประมาณ 4-5 วัน) และหลังจากลองใช้ก็พบว่าแอพมีความน่าสนใจ และมีความเป็นไปได้ (ถ้าเสถียร) ว่านี่จะกลายเป็นโปรแกรมเมลที่ผมจะใช้เป็นหลักเพราะวิธีคิดค่อนข้างตรงกับที่ผมใช้ในปัจจุบัน
หลักการ
หลังจากลองใช้ดูผมว่าหลักการข้อเดียวที่ผู้ใช้ต้องตกลงกับตัวเองก่อนถ้าจะใช้ Mailbox ก็คือ หลังจากนี้เราต้องมองอีเมลของเราเป็นเหมือน to-do list กระดานหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้อง “เคลียร์งานออกให้หมด” ทุกวัน (แต่ไม่ต้องกลัวครับ งานที่ไม่เสร็จก็ยังพอจะเลื่อนวันถัดไปได้) นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ทุกสิ้นวัน inbox ของคุณจะว่าง “เสมอ” ทำใจให้รับสภาพนี้ได้หรือไม่ครับ? (ซึ่งจริงๆ มันดีนะเพียงแต่เราสมัยนี้อาจจะไม่คุ้นกับอะไรทำนองนี้อีกแล้วก็เป็นได้)
โอเคเรามาดูแอพกันเลยดีกว่า…
สิ่งที่ต้องเตรียม
หลังจาก Add Mail Account (ตอนนี้อนุญาตแค่ Gmail) ของเราเข้าไปแล้ว ระบบก็จะไปขออนุญาตจัดการอีเมลของเรา และขอเข้าถึง 3 ส่วนของอีเมลของเราผ่าน IMAP นั่นคือกล่อง All Mail, Sent และ Trash
วิธีการเช็คคือเข้าไปดูใน Settings > Labels แล้วเช็คว่าทั้ง 3 ช่องให้ Show in IMAP แล้วหรือไม่ หลังจากนั้นก็จะใช้งานได้ครับ
อย่างที่เกริ่นไปแล้วครับว่า Mailbox นั้นจะขอถือวิสาสะเคลียร์ inbox ของเราเป็นฐานบัญชาการ (inbox นะครับไม่ใช่ All Mail ที่เราเอาไว้ Archive ก็ไม่ต้องตกใจ) เข้ามาเขาก็จะถามก่อนเลยว่าจะขอเคลียรได้หรือไม่ จากนั้นก็จะเลือกวิธี่การเคลียร์ โดยเขาจะ “ย้ายเมลในกล่องทั้งหมดไปเก็บไว้ใน Archive ให้
ตรงนี้เองที่มีให้เลือกได้ว่าจะ Archive เฉพาะที่อ่านแล้ว หรือให้ Archive เฉพาะที่ไม่มี Star กำกับ ปรกติผมจะใช้ระบบ Star ของ Gmail เพื่อโน้ตไว้อยู่แล้วว่าเรื่องไหนต้องตามต่อ ผมก็เลยใช้ออพชั่นนี้ครับ
ดังนั้นถ้าถามผมว่าต้องเตรียมตัวยังไงก่อนจะเริ่มใช้บ้าง ผมก็จะแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ Star ทุกเมลที่ยังอยู่ในความสนใจ ณ ขณะนี้ไว้ก่อนเลยครับ หลังจาก inbox เราว่างแล้วคราวนี้ก็ถึงเวลาใช้ Mailbox แบบเต็มประสิทธิภาพกันละ
จัดการงานอย่างรว่ดเร็วด้วย swipe
Mailbox นำการ Swipe เข้ามาใช้ใน 2 ลักษณะ คือการลากแบบสั้น และลากแบบยาว ทำให้ได้ทั้งหมด 4 คำสั่งด้วยกัน (ลากซ้ายสั้น ลากซ้ายยาว ลากขวาสั้น และลากขวาแบบยาว) ซึ่งก่อนจะเข้าใช้งานจะมีหน้าจอสอนวิธีการทั้งหมดด้วย
ลากไปทางขวาสั้นๆ คือการเก็บเมลเรื่องนี้เข้า Archive หมายถึงเรื่องนี้ไม่ต้องตามงานต่อแล้ว แต่ต้องการเก็บเป็น reference
ลากไปทางขวายาวๆ คือการ Delete ซึ่งเมลจะไปอยู่ที่ Trash
ลากไปทางซ้ายสั้นๆ คือการ Pending (เลื่อนวัน) ซึ่งจะมีขึ้นมาให้เลือกด้วยเลื่อนไปวันไหน (อีกเดี๋ยวนึง-คืนนี้-พรุ่งนี้-สุดสัปดาห์-สัปดาห์หน้า-เดือนหน้า-กำหนดวัน-ไม่มีกำหนด) และสุดท้าย ลากไปทางซ้ายยาวๆ คือการจับเมลนี้เขา List (ซึ่งก็คือ Labels นั่นเอง)
เลื่อนทั้งหมดที่เหลือไปวันพรุ่งนี้
เมื่อเลื่อนลงไปล่างสุดจะสามารถผลักเมลที่ยังเหลือทั้งหมดเพื่อทำทั้ง 4 อย่างข้างบนได้เช่นเดียวกัน โดยเรียกวิธีการนี้ว่า Batch swipe
ปรับให้เข้ากับเรา
เราสามารถตั้งเวลาเริ่มต้นและจบวันของวันธรรมดาและสุดสัปดาห์ได้ รวมทั้งตั้งเวลาว่า Later ที่ว่าจะให้ยาวนานเท่าไรด้วยค่อยเตือนอีกที (เขาตั้งไว้ default ที่ 3 ชั่วโมงซึ่งผมก็ถือว่าอาจจะมากไปนิดหนึ่ง ก็ปรับมาเป็น +2 hours แทนได้)
ความเห็น
จุดดี : สิ่งที่ Mailbox App ทำอยู่ตอนนี้จริงๆ แล้วเราสามารถประยุกต์ใช้กับแอพจัดการอีเมลตัวไหนก็ได้ (ก็เพียงแต่เคลียร์ inbox และจัดการเมลแต่ละฉบับตามมาตรฐานเดียวกันนี้) แต่สิ่งที่แตกต่างกันออกไปที่ผมรู้สึกได้ชัดเจนคือ “ความเร็ว” ในการเข้าถึงคำสั่ง Archive/Delete/Later/Pending ที่ทันใจขึ้นด้วยการ swipe เพียงครั้งเดียว ซึ่งสำหรับยุควุ่นวายที่ต้องทำงานบน Mobile ที่ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา การทำได้อย่างนี้สนุกและดูทันใจกว่าการกดและเลือก Delete และ Confirm Delete มากมาย
จุดด้อย : ไม่มีอะไรมากครับ ถึงจะไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่เวลา swipe แล้วได้คำสั่งผิด (จาก Delete เป็น Archive) การจะไปเอาเมลฉบับนี้กลับมาต้องกลับไปหลายชั้นพอสมควร ถึงจุดนี้เลยอยากขออย่างเดียวเลยว่า อยากให้ undo ได้ (เท่าที่หายังไม่เจอ)
แต่เดิม Orchestra นั้นเป็นชื่อของบริษัทและ to-do list บนเว็บและ iPhone ตัวหนึ่ง ที่เกิดจากความต้องการสร้าง to-do list ที่จะสามารถทำงานแทนพฤติกรรมการใช้อีเมลประสานงานกันอย่างยืดยาวได้ ส่วนผลตอบรับ? ด้วย flow การทำงานที่ใช้ง่ายมาก แอพตัวนี้กลายเป็น Best to-do app for iPhone ของ LifeHacker และ ได้รับรางวัล Best Productivity App of the Year จาก Apple ภายในปีนั้นทันที เรื่องนี้เกิดในปี 2011
แต่หนึ่งปีให้หลังพวกเขากลับพบปัญหาว่าสุดท้ายแล้วคนส่วนหนึ่งจะหยุดใช้แอพของพวกเขาและกลับไปติดต่อกันทางอีเมลเหมือนเดิม (ซึ่งถ้าถามจากมุมคนใช้งานเครื่องมือกลุ่ม GTD จริงๆ เราก็มักจะเจอปัญหาเดียวกันคือ to-do list นั้นไม่สามารถช่วยเราตามงานได้เต็มที่ อย่างไรก็สู้อีเมลไม่ได้จริงๆ) Orchestra จึงเริ่มวิธีคิดใหม่ ว่าถ้าเขาสามารถเปลี่ยน inbox ให้กลายเป็น to-do list ได้ในตัวอาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องก็ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของความพยายามสร้างแอพจัดการ inbox ที่ชื่อ Mailbox ตัวนี้
และเท่าที่เห็นก็ดูเหมือนว่าวิธีการเท่าที่ได้ลองเล่นกับ Mailbox App ตอนนี้ ก็ดูเหมือน วิธีการใช้อีเมลในรูปแบบใหม่นี้มีความน่าสนใจอยู่พอสมควรทีเดียวครับ
ดาวน์โหลด : Mailbox (ฟรี)
kangg